0
0.00
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน

ปัจจุบันในประเทศไทย มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำบุญด้วยการถวายสังฆทานอยู่มาก มีอะไรบ้างเราไปดูกันค่ะ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน 

            โดยส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าสิ่งของที่จะนำมาถวายสังฆทานนั้นต้องซื้อเป็นชุดไทยธรรมถังสีเหลืองสำเร็จรูปที่บรรจุสิ่งของจากร้านสังฆภัณฑ์ หรือไม่ก็จะต้องนำสิ่งของที่ตนตั้งใจถวายใส่บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่มีสีเหลือง แล้วนำสิ่งเหล่านั้นไปถวายพระสงฆ์แล้วจะเป็นสังฆทานที่ถูกต้อง ! แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านั้นเป็นความเข้าใจผิด !
            " ถังเหลือง" นั้นเป็นเพียงภาชนะเท่านั้น "
            ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทานในปัจจุบัน มีผู้กล่าวว่าเกิดจากปรากฏการณ์ "ถังสีเหลือง" โดยกล่าวว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวมีที่มาจากการที่ร้านค้าสังฆภัณฑ์จัดสินค้าเป็นถังไทยธรรมที่บรรจุสิ่งของเครื่องใช้นำมาวางจำหน่ายโดยมีการใช้บรรจุภัณฑ์สีเหลืองเพื่อให้เป็นที่ติดตาของผู้ซื้อ และได้กลายเป็นที่นิยม
            ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้ "ถังสีเหลือง" เป็นสิ่งของแรก ๆ ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยส่วนใหญ่คิดถึง เมื่อจะไปทำบุญถวายจตุปัจจัยตามวัดต่าง ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า "การทำบุญด้วยถังสีเหลือง" เป็นสิ่งคู่กันอย่างแยกไม่ออก และมักเรียกรวมกันว่า การถวายถังสังฆทาน (อ้างอิง : th.wikipedia)


ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน 

           “สังฆทาน” คือ ทานที่ตั้งใจถวายแก่สงฆ์หรือผู้แทนของสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง หากถวายโดยเจาะจง เรียกว่า "ปาฏิบุคลิกทาน" 
           ดังนั้น สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าปาฏิบุคลิกทาน เพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าจะเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงความตั้งใจจะถวายด้วยศรัทธาอันเป็นสาธารณะ 
           ดังนั้น การทำบุญเลี้ยงพระในงานต่างๆ การไปทำบุญตักบาตรที่วัด การใส่บาตรพระที่เดินบิณฑบาต หากไม่จำเพาะเจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง นับเป็นสังฆทานทั้งสิ้น 
           โดยทั่วไปแล้วการถวายสังฆทานมักจะเป็นการถวายอาหาร และอาจจะมีการถวายปัจจัย 4 อย่างอื่นให้ครบถ้วน(เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย) หรือข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับพระ เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน มีดโกน ฯลฯ (อ้างอิง : ณัฐพบธรรม, วัดบางพระ bp webboard)

 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน

          สังฆทานที่ดี ไ่ม่จำเป็นต้องมีของให้เยอะที่สุด ใหญ่ที่สุด ! 
          หากแต่สังฆทานที่ดีนั้น ไม่จำเป็นต้องมีของถวายมากมาย ขอเพียงเป็นของที่จำเป็นและมีคุณภาพดี แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)ของที่นำไปถวายจะเป็นปัจจัยสี่อะไรก็ได้ที่ “ไม่ขัดต่อสมณะภาวะ” ของท่าน จะถวายอะไรก็คงต้องถามตัวเองก่อนว่า .....
          ๑.สมควรไหม
          ๒.ขัดกับพระวินัยของพระไหม
          ๓.พระจำเป็นต้องใช้ไหม
          ๔.มีคุณภาพดีไหม
          ๕.เอื้อต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไหม
          เพียงแต่ว่าการถวายอาหารเป็นสังฆทานนั้น เราจะต้องถวายก่อนเที่ยง (หลังเที่ยงพระจะรับอาหารไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสดหรือแห้งหรือนม เพราะตามวินัยสงฆ์ พระจะเก็บสะสมอาหารไม่ได้) ส่วนน้ำปานะ เภสัช และข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารสามารถถวายก่อนหรือหลังเที่ยงก็ได้ (อ้างอิง : ณัฐพบธรรม, พระอัครเดช ญาณเตโช)

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการถวายสังฆทาน

          ว่ากันตามความเป็นจริง แม้พระสงฆ์ทั้งปวงจะดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่สู้พิถีพิถันนักในเรื่องการขบฉัน, การบริโภค แต่การไม่พิถีพิถันหรือเรียบง่ายนั้นไม่ได้หมายความว่าใครจะนำอะไรก็ได้มาถวาย เมื่อถวายแล้วพระต้องรับหมด 
          "อย่างนั้นไม่เรียกว่าเรียบง่าย แต่เรียกว่ามักง่ายมากกว่า"
          การจะนำอะไรมาถวายพระ บางคนบอกว่าอย่าพิถีพิถันมากมายเลย พระท่านเรียบง่ายอยู่แล้ว... คนที่คิดอย่างนี้ต้องระมัดระวังสังวรไว้บ้าง... เพราะกำลังเข้าใจพระผิดอย่างถนัด และกำลังทำให้ตัวเองกลายเป็นคนมักง่าย ขาดวิจารณญาณไปโดยปริยาย นึกจะถวายอะไรก็ถวาย เลยถวายของที่พระท่านไม่ได้ใช้ และที่ควรใช้ก็กลายเป็นของด้อยคุณภาพ
          ของที่ถวายแต่พระไม่ได้ใช้ และที่ควรใช้ก็ด้อยคุณภาพนั้น จะทำให้มีบุญมากได้อย่างไร? จะเป็นการส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีสุขภาพดีได้อย่างไร? ดีร้ายยังพลอยทำให้พระท่านเดือดร้อน เพราะบริโภคของที่มีอันตรายเจือปนอีกต่างหาก... (อ้างอิง : ว.วชิรเมธี)


+
manganelo